ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)

Last updated: 7 ก.พ. 2566  |  227 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยมีความรู้สึกผิดปกติในการกลืนอาหาร ทำให้ต้องใช้เวลาและความพยายามมากขึ้นในการเคลื่อนอาหารหรือของเหลวจากปากให้ผ่านหลอดอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไอหรือสำลักขณะรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่ม รู้สึกคล้ายมีอาหารติดอยู่ในลำคอหรือหน้าอก เป็นต้น อาการกลืนลำบากนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยในคนสูงอายุ
อาการของภาวะกลืนลำบาก
➡เสียงแหบหลังกลืนอาหาร
➡มีอาการเจ็บเวลากลืนอาหาร หรือไม่สามารถกลืนอาหารได้
➡รู้สึกคล้ายมีอาหารติดอยู่ในลำคอหรือหน้าอก
➡แสบร้อนกลางอกบ่อยครั้ง
➡น้ำลายไหลออกทางปากมากผิดปกติ
➡มีอาหารหรือกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมาที่คอ
➡ไอหรือสำลักเวลากลืนอาหาร
➡น้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ
➡ต้องตัดแบ่งอาหารให้มีขนาดเล็กลงหรือหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เพื่อให้สามารถกลืนได้ตามปกติ
สาเหตุของภาวะกลืนลำบาก
สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามตำแหน่งที่เกิดอาการกลืนลำบาก ได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. อาการกลืนลำบากจากความผิดปกติบริเวณคอหอย หลอดอาหารส่วนบนและการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร
ส่วนบน (Oropharyngeal dysphagia) เช่น กล้ามเนื้อบริเวณคอโปร่งพอง ,โรคคอตีบ ,โรคหลอดเลือดสมองตีบและแตก เป็นต้น
2. อาการกลืนลำบากจากความผิดปกติบริเวณหลอดอาหาร, กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง และกระเพาะอาหารส่วนบนที่ติด กับหลอดอาหาร (Esophageal dysphagia) เช่น กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างหดรัดตัว มีพังผืดในหลอดอาหาร เนื้องอกในหลอดอาหาร เป็นต้น
3. อาการกลืนลำบากที่ไม่สามารถอธิบายได้ (Functional dysphagia) เช่น การกินยาลำบากในบางคน , รู้สึกเหมือนมีอะไรติดคอตลอดเวลา เป็นต้น
การรักษาภาวะกลืนลำบาก
✅การใช้ยารักษา อาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหารร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในกรณีเป็นกรดไหลย้อน หรืออาจใช้ยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิด กรณีหลอดอาหารหดเกร็ง เป็นต้น
✅การผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่เกิดเนื้องอกในหลอดอาหาร โรคอะคาเลเซีย มีการโป่งพองของหลอดอาหารออกเป็นกระเปาะ หรือภาวะที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการรักษาแบบอื่น ๆ
✅การขยายหลอดอาหาร โดยใช้กล้องส่องตรวจพร้อมทำบอลลูนชนิดพิเศษ หรือใช้ท่อที่มีความยืดหยุ่นสูงเพื่อช่วยขยายหลอดอาหาร
✅การฝึกกลืน และออกกำลังกายกล้ามเนื้อในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกลืน โดยนักกิจกรรมบำบัด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้